วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทที่ 3 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1.1  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระยะเริ่มแรกที่มนุษย์ได้คิดค้นประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้ทำงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แล้วจึงนำมาใช้เก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลทางด้านธุรกิจในเวลาต่อมา ระยะแรกนี้เรียกว่าระยะการประมวลผลข้อมูล (data processing age) ข้อมูลที่ได้มาจะต้องผ่านการประมวลผลให้ได้เป็นสารสนเทศก่อน จึงนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
                  ระยะเริ่มแรกที่มนุษย์ได้คิดค้นประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้ทำงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่แล้วจึงนำมาใช้เก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลทางด้านธุรกิจในเวลาต่อมา ระยะแรกนี้เรียกว่าระยะของการประมวลผลข้อมูล ( data processingage)
                  ข้อมูลที่ได้มาจะต้องผ่านการประมวลผลให้ได้เป็นสารสนเทศก่อน จึงนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ วิธีการประมวลผลข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่การรวบรวมจัดเก็บข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลแล้วต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล เช่น ข้อมูลตัวอักษรซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความก็อาจต้องมีการเรียงลำดับ และข้อมูลตัวเลขก็อาจต้องมีคำนวณ จากนั้นจึงทำสรุปได้เป็นสารสนเทศออกมา
                  แต่เนื่องจากระบบงานที่เกิดขึ้นภายในองค์กรค่อนข้างซับซ้อน เช่น รายได้ของพนักงานที่ได้รับในแต่ลัเดือน อาจไม่ได้มาจากอัตราเงินเดือนประจำเท่านั้น แต่อาจมีค่านายหน้าจากการขายสินค้าด้วย ในลักษณะนี้แฟ้มข้อมูลการขาย จะสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลเงินเดือน และสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลอื่นๆ เช่น ค่าสวัสดิการ การหักเงินเดือนเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ระบบข้อมูลจะกลายเป็นระบบที่มีแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มเชื่อมสัมพันธ์กัน และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียกแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นมาจัดการให้เป็นไปตามที่ต้องการ ระบบนี้เรียกว่า ระบบฐานข้อมูล ( database system ) 
                  การประมวลผลฐานความรู้เป็นการประยุกต์หลักวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence : AI )   ที่รวบรวมศาสตร์หลายแขนง คือ คอมพิวเตอร์ จิตวิทยา ปรัชญา และภาษาศาสตร์เข้าด้วยกัน ตัวอย่างชิ้นงานประเภทนี้ได้แก่ หุ่นยนต์ ( robot ) และระบบผู้เชี่ยวชาญ ( expert system ) ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบผู้เชี่ยวชาญช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน
1.1.1  ไมโครคอมพิวเตอร์
                ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ
               แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม
                โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน กับแล็ปท็อป
                ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก
1.1.2  ส่วนประกอบของเครี่องคอมพิวเตอร์
               1. หน่วยประมวลผลกลาง  (หรือ Processor)   หน่วยประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า  หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู  มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่คำนวณ  ประมวลผลข้อมูลต่าง  ๆ รวมทั้งเป็นศูนย์ควบคุมการทำงาน  การติดต่อสื่อสารระหว่างองค์ประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์  เรียกได้ว่าซีพียูนี้เปรียบเหมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอยควบคุมการทำงานทั้งหมดของคอมพิวเตอร์  
               2. หน่วยความจำหลัก  หน่วยความจำหลัก  มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่จะให้ซีพียูเรียกใช้งานได้หน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น ส่วน คือ แรม กับรอม
            แรม  เป็นหน่วยความจำหลักที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป  หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลตราบเท่าที่ยังเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ หรือยังมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้วงจรอยู่  แต่หากเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเกิดไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที
                รอม  เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่ง หน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อทำการเปิดเครื่อง ซีพียูจะเริ่มทำงานได้ทันที ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้ จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่อง ข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบแต่อย่างใด
            3. หน่วยความจำสำรอง  หน่วยความจำสำรอง  มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ไว้ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ หากถูกเรียกใช้งานเมื่อใด ก็ถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองมาไว้ที่หน่วยความจำหลัก
นั่นคือ แรม เพื่อให้หน่วยประมวลผลทำงานติ่ไป หน่วยความจำประเภทนี้หากมีการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือไฟดับ ข้อมูลก็จะยังคงอยู่ ไม่สูญหายไปไหน  หน่วยความจำสำรองที่ใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์
มีอยู่หลายประเภท เช่น
             – แผ่นบันทึก (หรือ Floppy Disk) แผ่นบันทึกข้อมูลในปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว ตัวแผ่นบันทึกเป็นแผ่นบาง ฉาบผิวด้วยสารแม่เหล็กอยู่ในกรอบพลาสติกแข็ง เพื่อป้องกันการขีดข่วน สามารถบรรจุข้อมูลได้ 1.44 เมกะไบต์ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว เนื่องจากบรรจุข้อมูลได้น้อย และชำรุดง่าย
           – ฮาร์ดดิสก์  ฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นบันทึกแบบแข็งที่เคลือบสารแม่แหล็กหลายแผ่นเรียงซ้อนกัน  หัวอ่านของเครื่องขับจะมีหลายหัว ในขณะที่แผ่นบันทึกแต่ละแผ่นบันทึกหมุน หัวอ่านจะเคลื่อนที่เข้าออกเพื่ออ่านข้อมูลที่เก็บบนพื้นผิวแผ่น  การเก็บข้อมูลในแต่ละแผ่นจะเป็นวง เรียกแต่ละวงของทุกแผ่นว่า ไซลินเดอร์   แต่ละไซลินเดอร์จะแบ่งเป็นเซกเตอร์ แต่ละเซกเตอร์แบ่งข้อมูลเป็นชุดๆ  ฮาร์ดิสก์เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงมาก มีความจุเป็นกิกะไบต์ เช่น 320  กิกะไบต์  การอ่านและเขียนข้อมูลจะกระทำได้เร็วมาก
            – แผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี  ในปัจจุบันแผ่นซีดี และแผ่นดีวีดี มีผู้ใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีราคาถูก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก ซีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ 750 เมกะไบต์ และแผ่นดีวีดี 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 4.7 กิกะไบต์
          – หน่วยความจำแบบแฟรช (หรือ Flash Memory) เป็นหน่วยความจำประเภทรอม ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีของ รอม และแรม มารวมกัน ทำให้หน่วยความจำชนิดนี้สามารถเก็บข้อมูลได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ คือสามารถเก็บและลบข้อมูลได้ตามต้องการ และถ่ายโอนข้อมูลได้รวดเร็ว ปัจจุบันมีผู้หันมาใช้หน่วยความจำแบบแฟรชกันมากขึ้น เพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก สามารถเก็บข้อมูลได้มาก เช่น 4 กิกะไบต์  , 8 กิกะไบต์
            4. หน่วยรับข้อมูล
            หน่วยรับข้อมูล เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก และใช้ในการประมวลผล อุปกรณ์รับข้อมูลมีหลายประเภท เช่น
            - แป้นพิมพ์  (หรือ Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากการกดปุ่มบนแป้นพิมพ์ แล้วส่งรหัสให้กับคอมพิวเตอร์
        – เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล โดยผู้ใช้สามารถเลื่อนตัวชี้เมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนจอภาพแล้วคลิกปุ่มเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์
            – เครื่องกราดตรวจ (หรือ Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้เทคโนโลยีของการผ่านแสงเพื่อทำการอ่านรหัสสัญลักษณ์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลต่อไป
        - จอสัมผัส (หรือ Touch Screen) สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลเข้า และส่งออกข้อมูลออกในเวลาเดียวกัน จอภาพสามารถรับข้อมูลไปประมวลผลโดยการสัมผัสบนบริเวณจอภาพ บริเวณจอภาพประกอบไปด้วยตาข่ายของลำแสงอินฟาเรด เมื่อมีวัตถุมาสัมผัสบนจอภาพ จะมีการส่งสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งบนจอภาพให้กับโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ได้
 5. หน่วยส่งออกข้อมูล
            หน่วยส่งออกข้อมูล เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลออกมา เช่น
    – จอภาพ (หรือ Monitor) การส่งออกของข้อมูลจะปรากฏบนจอภาพ ซึ่งแสดงได้ทั้งตัวอักษร  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว การแสดงผลบนจอภาพจะแสดงด้วยจุดเล็กๆ ตามแนวนอนและแนวตั้ง จอภาพมีขนาดที่แตกต่างกันเช่น 17 นิ้ว  20  นิ้ว เป็นต้น
        – เครื่องพิมพ์ (หรือ Printer) เป็นอุปกรณ์ที่ส่งออกข้อมูลในรูปของการพิมพ์หมึกลงบนกระดาษหรือวัตถุต่างๆ  ปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ออกมาหลายลักษณะตามความต้องการของผู้ใช้งาน   
            เราสามารถเปรียบเทียบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์กับร่างกายมนุษย์ได้  ซีพียูและหน่วยความจำหลักหรือแรม  เปรียบเหมือนสมองของมนุษย์ซึ่งทำงานทั้งควบคุมร่างกายเหมือนซีพียูและจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้เหมือนแรม  นอกจากนี้สมองยังจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น  ถ้าเราไม่ทบทวนความรู้เหล่านั้น สิ่งที่เราจดจำไว้ก็จะหายไป  เหมือนกับการทำงานของแรม  ส่วนหน่วยความจำสำรองเปรียบเสมือนหนังสือหรือสมุดบันทึกใดๆ  ที่สามารถอ่านและบันทึกสิ่งต่าง ๆ ลงไปได้  และสิ่งที่จดบันทึกนั้นไม่สูญหายไปไหน  ส่วนหน่วยรับข้อมูลเข้าก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้าของคน  ส่วนหน่วยส่งออกข้อมูลก็คือ  ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่สามารถแสดงออกให้ผู้อื่นรับรู้ได้ เช่น  ปาก  มือ  แขน  หรือขา  เป็นต้น 
1.1.3  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
 1. จอภาพ (Monitor)
               เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
               - จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube)  โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ   ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ 
จอแบบ CRT
               การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา
               ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
               - จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ  จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที 
               การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน
2. เคส (Case)
              เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น
3. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
              เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
4. คีย์บอร์ด (Keyboard)
              เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก
5.เมาส์(Mouse)
              อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด
6. เมนบอร์ด (Main board)
              แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
7.ซีพียู(CPU)    
              ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งานหน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ3ส่วนคือ
              1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์
              2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon 
8. การ์ดแสดงผล (Display Card)
              การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย
9.แรม(RAM)
     RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงานโดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที 
 10.ฮาร์ดดิสก์(Harddisk)
              เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยงส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิดโดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน
     -IDE(IntegratedDriveElectronics)
              เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด
     -SCSI(SmallComputerSystemInterface)
                เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง     
-SerialATA(AdvancedTechnologyAttachment)
                เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่
11. CD-ROM / CD-RW / DVD / DVD-RW
              เป็นไดรฟ์สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอม หรือดีวีดีรอม ซึ่งถ้าหากต้องการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นจะต้องใช้ไดรฟ์ที่สามารถเขียนแผ่นได้คือ CD-RW หรือ DVD-RW โดยความเร็วของ ซีดีรอมจะเรียกเป็น X เช่น 16X , 32X หรือ 52X โดยจะมี Interface เดียวกับ Harddisk
12. ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)
              เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ
              ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น
1.2  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร
ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เราหันมาให้ความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ทำให้เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอินเทอร์เน็ต หรือด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมในระยะไกลต่าง ๆ   ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในวงการธุรกิจต่าง ๆ   เป็นการนำความรู้จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาสร้างทางเลือกในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ส่งผลให้เราสามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารส่งเสริมให้เกิดการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน  ซึ่งเหมาะกับสภาพขององค์กรในปัจจุบันที่ต้องการการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
1.2.1 องค์ประกอบของการสื่อสาร
                การสื่อสารต้องประกอบด้วยผู้ส่งสาร (sender) และผู้รับสาร (receiver) เสมอ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีบุคคลหรือกลุ่มคนที่ผู้ส่งสารตั้งใจส่งสารไปถึง (intended receiver) แต่การสื่อสารยังต้องมีองค์ประกอบนอกเหนือจากผู้ส่งสารและผู้รับสาร นั่นคือตัวกลางที่เข้ามาช่วยอธิบายให้กระบวนการสื่อสารมีความสมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้น การสื่อสารโดยทั่วไปจึงประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (Sender) หรือผู้สื่อสาร(Communicator) หรือแหล่งสาร (Source) เป็นแหล่ง หรือต้นทางหรือผู้ที่นำเรื่องราวข่าวสาร ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับ
 2. เนื้อหา (Message) ได้แก่ เรื่องราวที่ส่งออกมาจากผู้ส่งสาร
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Medium or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดข้อมูลและเหตุการณ์ต่าง ๆ จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับ เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
                4. ผู้รับสารหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือจากการที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับสารอาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
                5. ปฏิกิริยาสนองกลับ (Feedback) เมื่อผู้ส่งสารส่งข้อมูลไปยังผู้รับสาร ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือไม่พอใจ ฯลฯ และเมื่อเกิดผลกระทบทางใดทางหนึ่งขึ้น ก็จะทำให้ผู้รับสารส่งข้อมูลกลับมายังผู้ส่งสาร
1.2.2 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารด้านต่าง ๆ ได้แก่  โทรศัพท์  โทรทัศน์  วิทยุกระจายเสียง  ดาวเทียม  อินเตอร์เน็ต  อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย  เครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร
                เนื่องจากเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เกิดระบบการสื่อสารใหม่ออกมาตลอดเวลา ผู้ทำงานในสำนักงานจึงมีโอกาสเลือกใช้วิธีการติดต่อสื่อสารปัจจัยสำคัญซึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกระบบสื่อสารให้สามารถนำมาใช้งานได้ดีมีดังนี้
                1. กลุ่มผู้ใช้ระบบสื่อสารควรมีจำนวนมากพอ
                2. การเข้ากันได้ระหว่างระบบสื่อสารกับงานของสำนักงาน 
                3. ความสมเหตุสมผลทางราคา 
                ปัจจัยทั้งสามเป็นข้อพิจารณาในการเลือกใช้ระบบสื่อสารเพื่อทำให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงสุด การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยระบบสื่อสารก็จะทำให้ระบบงานลดความซับซ้อนลงได้ ระบบการสื่อสารที่น่าสนใจจะเป็นการส่งข้อมูลหรือข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
                ระบบสื่อสารที่ใช้ภายในสำนักงานส่วนใหญ่ คือการส่งจดหมาย การโทรศัพท์ การส่งโทรเลข การส่งเทเล็กซ์ระบบสื่อสารที่นิยมกันมากคือการส่งโทรสารและโทรศัพท์
                ปัจจุบันเครือข่ายของโทรศัพท์ได้มีการแพร่หลายครอบคลุมในบริเวณกว้างและเป็นที่ยอมรับสำหรับการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจทั่วโลก ในทุกประเทศ ธุรกิจและกิจการหลายอย่างมีการดำเนินงานโดยพึ่งพาโทรศัพท์ โทรศัพท์ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะเทคโนโลยีของโทรศัพท์ได้รับการพัฒนามาหลายขั้นตอนทั้งในด้านตัวเครื่องตู้ชุมสายและระบบเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
                การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้รับความนิยมกันแพร่หลาย รวดเร็วจนจำนวนคู่สายไม่พอเพียงต่อความต้องการจึงมีการขยายอยู่เรื่อยมา และมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ออกมาตัวอย่างเช่น พัฒนาการของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนการใช้คู่สายแบบเส้นใยนำแสง การติดต่อสื่อสารด้วยโทรศัพท์ยังจำเป็นและจะคงอยู่ภายในสำนักงานไปอีกนาน
                บริการโทรเลขและเทเล็กซ์เป็นการสื่อสารอีกทางหนึ่งที่มีมานานพอสมควร สามารถส่งข่าวสารในรูปแบบตัวอักษรจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการสื่อสารข่าวสารทางอื่นที่ทันสมัยกว่า แต่การส่งโทรเลขและเทเล็กซ์ก็ยังมีใช้อยู่ทั่วไป เช่น ในงานส่งข่าวหนังสื่อพิมพ์ การค้าระหว่างประเทศการกำหนดราคาสินค้าการสั่งสินค้าและการประกวดราคาสินค้าเป็นต้น
                ภายในสำนักงานเริ่มมีการวางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใน การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านสายโทรศัพท์เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่อาจไม่เหมาะกับการรับส่งข้อมูลจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วเพื่อให้ทันการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือ ระบบเครือข่ายแลน ระบบเครือข่ายแลนทำให้คอมพิวเตอร์ภายในระบบสามารถโอนย้าย คัดลอกข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบเครือข่ายแลนจึงเป็นเครือข่ายภายในที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ด้วยอัตราที่เร็วกว่าการใช้โทรศัพท์ และมีข้อดี คือ การเชื่อมโยงระหว่างจุดต่าง ๆ อาจทำได้พร้อมกัน เช่น พนักงานขายหลายคนสามารถเรียกดูข้อมูลราคาสินค้าจากศูนย์ข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลกลางในเวลาเดียวกันได้
                ระบบเครือข่ายแลนและชุมสายโทรศัพท์จึงเป็นตัวอย่างการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่ใช้ในสำนักงานซึ่งทำให้ข้อมูล ณ จุดต่าง ๆ เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้ ระบบเครือข่ายที่ดีจะต้องสามารถเชื่อมโยงระหว่างระบบได้ เสมือนโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่นี้ทุกเครื่องทั่วโลกสามารถติดต่อถึงกันได้ทั้งหมด เราสามารถส่งโทรสารที่ใช้มาตรฐานเดียวกันไปยังเครื่องโทรสารเครื่องอื่นที่อยู่ปลายทางได้ทั้งโลกเช่นกัน
ด้วยความสามารถของมนุษย์ในการประดิษฐ์คิดค้นทำให้มีอุปกรณ์สื่อสารที่เรียกว่า เส้นใยนำแสง ทำให้แสงเดินทางในท่อที่คดเคี้ยวและเมื่อทำเป็นเส้นจึงดูคล้ายสายไฟที่แสงเดินลอดผ่านจากปลายข้างหนึ่งไปยังปลายอีกข้างหนึ่งได้การปฏิบัติการส่งสัญญาณข้อมูลจึงเริ่มเปลี่ยนรูปแบบจากการใช้ไฟฟ้ามาเป็นแสง
                การที่แสงเดินทางผ่านไปในท่อได้อาศัยหลักการสะท้อนกลับหมดกล่าวคือเมื่อแสงเดินทางจากปลายข้างหนึ่งจะสะท้อนบริเวณขอบกลับหมดไปชนกับขอบอีกด้านหนึ่งสลับไปมาการกระทำนี้จะทำให้ทางไปในท่อที่คดเคี้ยวได้
                เส้นใยนำแสงประกอบด้วยส่วนแรกคือเส้นใยที่ทำจากใยแก้วซึ่งเป็นแกนกลางทำให้แสงหักเหได้ ใยแก้วนี้มีชั้นห่อหุ้มซึ่งทำหน้าที่รักษาความเที่ยงตรงของลำแสงในขณะที่เดินทางผ่านเส้นใยที่คดเคี้ยวและส่วนที่สองคือตัวโครงสร้างเส้นใยแก้วซึ่งจะหุ้มด้วยพลาสติกและเส้นใยเหนียวยืดหยุ่นเพื่อป้องกันความเสียหายจากการแตกหักภายใน เมื่อประกอบเป็นสายนำสัญญาณจะใช้เส้นใยนำแสงหลายเส้นรวมกันอยู่ในท่อพลาสติกเดียวกัน มีจำนวนตั้งแต่ 4 เส้นขึ้นไป บางชนิดมีมากกว่า 24 เส้น
                ในการใช้งานจะต้องมีตัวส่งสัญญาณและตัวรับสัญญาณ ข้อมูลจะได้รับการแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าก่อน จากนั้นจึงเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณแสง อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งแสงที่นิยมใช้กันได้แก่ ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode :LED) ส่วนรับสัญญาณที่นิยมใช้ได้แก่ โฟโตไดโอด (photo diode) การแปลงข้อมูลจะใช้วิธีแบบความถี่
                ข้อเด่นของการสื่อสารข้อมูลด้วยเส้นใยนำแสงมีมากมาย แสงที่ใช้สื่อสารจะมีแกนกว้างทำให้ทางความถี่มาก ความถี่สัญญาณอยู่ในช่วง 1-10 จิกะเฮิรทซ์ จึงทำให้แบ่งช่องสัญญาณข้อมูลหรือเสียงได้มาก เส้นใยนำแสงหนึ่งเส้นอาจมใช้ส่งสัญญาณโทรศัพท์ได้หลายพันคู่สาย มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาสามารถบิดโค้งงอในขณะเดินสายโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูล มีการสูญเสียต่ำปราศจากการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความทนทานต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทนทานต่อปฏิกิริยาทางเคมี การสื่อสารจะบริสุทธิ์ไม่ส่งสัญญาณรบกวนสิ่งรอบข้าง
                จากการที่เส้นใยนำแสงมีข้อดีมากมาย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงเริ่มดำเนินการวางสายเส้นใยนำแสงเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์แทนไมโครเวฟ องค์การระหว่างประเทศทางด้านการสื่อสารได้ดำเนินการวางเส้นใยนำแสงเป็นเคเบิลใต้น้ำเพื่อเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างประเทศ การใช้งานสายนำสัญญาณด้วยเส้นใยนำแสงจะต้องเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต
                การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นการสื่อสารที่มีสถานีรับส่งอยู่ที่พื้นดินส่งตรงขึ้นไปยังดาวเทียมแล้วส่งต่อลงมายังตัวรับส่งที่พื้นดินอีกครั้งหนึ่ง ดาวเทียมจึงเสมือนเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณที่ดียิ่ง เพราะลอยอยู่บนท้องฟ้าในระดับสูงมาก
                ประเทศไทยเริ่มใช้ดาวเทียมสื่อสารครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 การสื่อสารแห่งประเทศไทยตั้งสถานีภาคพื้นดินที่อำเภอศรีราชา ชลบุรี โดยเช่าช่องสัญญาณจำนวน 13 ช่องสัญญาณ เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศดาวเทียมที่ใช้ในยุคแรกเป็นของบริษัทยูอาร์ซีเอซึ่งเป็นดาวเทียมทางทหารของสหรัฐอเมริกา
                จานรับสัญญาณดาวเทียมที่สถานีภาคพื้นดินมีขนาดใหญ่มาก เช่น จานรับสัญญาณดาวเทียมอิเทลแซด ที่ศรีราชามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 97 ฟุต สามารถสื่อสารข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย
                ใน พ.ศ. 2522 สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยมีการขยายเครือข่ายทั่วประเทศ ในการนี้มีการเช่าช่องสัญญาณจากดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซียทำให้ระบบการถ่ายสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศไทยกระจายไปยังเมืองใหญ่ ๆ ได้ทั่วประเทศ จานรับสัญญาณดาวเทียมปาลาปามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นจานขนาดใหญ่พอสมควร การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทำได้ง่ายเพราะไม่ต้องเสียเวลาเดินสายหรือเชื่อมโยงด้วยไมโครเวฟ
                ดาวเทียมสื่อสารที่ใช้งานต้องมีลักษณะพิเศษคือ เป็นดาวเทียมค้างฟ้า ซึ่งผิดจากดาวเทียมจารกรรมทางทหาร ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศมหาอำนาจส่งขึ้นไป ดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่โคจรรอบโลกผ่านทุกส่วนของพื้นผิวโลกโดยจะกลับมาที่เดิมในระยะเวลาประมาณ9-11วัน
                ดาวเทียมค้างฟ้า เป็นดาวเทียมที่ต้องอยู่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรและโคจรรอบโลก 1 รอบ ใน 1 วัน พอดีกับเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเอง ระดับความสูงและความเร็วการโคจรต้องเหมาะสม ดาวเทียมค้างฟ้าที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ที่ระดับความสูง 42,184.2 กิโลเมตร
                ในช่วงปลาย พ.ศ. 2536 บริษัทชินวัตรได้รับอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้ส่งดาวเทียมสื่อสารของไทยขึ้นเป็นดาวดวงแรกมีชื่อว่า ไทยคม การสื่อสารของไทยจึงก้าวหน้าและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
                ดาวเทียมไทยคมอยู่ในตำแหน่งเส้นแวงที่ 101 องศาตะวันออก เหนือเส้นศูนย์สูตรบริเวณอ่าวไทยค่อนไปทางใต้ ใช้สัญญาณพาหะในย่านความถี่ 4 , 10 และ 12 จิกะเฮิรทซ์ บริษัทผู้ผลิตดาวเทียมคือ บริษัทฮิวส์แอโรคราปของประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งขึ้นวงโคจรด้วยจรวดของบริษัทเอเรียนสเปสของประเทศฝรั่งเศส
                ข้อได้เปรียบของดาวเทียมไทยคมคือ อยู่ตรงประเทศไทยทำให้จานรับสัญญาณมีขนาดเล็กลงเหลือเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 50 เซนติเมตร ดาวเทียมไทยคมครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย และเพื่อนบ้านไว้ ดาวเทียมตัวนี้มีอายุประมาณ 15 ปี
                การสื่อสารผ่านดาวเทียมในประเทศไทยจึงเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยมีทางเลือกของการสื่อสารมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจะทำได้เร็วขึ้น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเป็นหนทางหนึ่งที่จะส่งไปยังพื้นที่ใด ๆ ก็ได้ในประเทศ แม้จะอยู่ในป่าเขาหรือมีสิ่งกีดขวางทางภาคพื้นดิน
                ดังนั้น การกระจายข่าวสารในอนาคตจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น การใช้ข้อมูลข่าวสารจะเจริญเติบโตไปพร้อมกับความต้องการหรือการกระจายตัวของระบบสื่อสาร
                โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Services Digital Network : ISDN) เป็นระบบการสื่อสารมาตรฐานที่กำลังจะถูกนำเข้ามาใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมต่อไป และจะเป็นระบบที่เข้าไปแทนที่ระบบโทรศัพท์เดิม ซึ่งขณะนี้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้เปิดดำเนินการ และมีการทดลองใช้บ้างแล้ว
                เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลได้ดีขึ้น ให้พิจารณาระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นระบบสลับสายด้วยสัญญาณแอนะล็อกกล่าวคือสัญญาณเสียงพูดที่ปลายทางจะได้รับการสลับสายไปยังอีกด้านหนึ่งด้วยวงจรสลับสายแบบกลไกสัญญาณเสียงจะส่งผ่านเสมือนการต่อเส้นลวดทองแดงจากต้นทางไปยังปลายทางได้
                ต่อมามีการสลับสายด้วยหลักการทางดิจิทัล เช่น ชุมสายเอสพีซีของค์การโทรศัพท์ในปัจจุบัน สัญญาณเสียงที่ต้นทางจะผ่านไปตามมสายในลักษณะเป็นสัญญาณแอนะล็อกไปตามเส้นลวดทองแดงไปถึงชุมสายจะเปลี่ยนสัญญาณแอนะล็อกนี้ให้เป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วสลับสัญญาณดิจิทอลเข้าไปในช่องเวลาของอีกวงจรหนึ่งอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการสลับสายด้วยหลักการดิจิทัลไปมาระหว่างวงจรดังนั้นวงจรคู่สายจึงไม่ได้ต่อกันในลักษณะตัวนำทองแดงแต่ใช่วิธีการของสัญญาณคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง อย่างไรก็ดีช่วงระหว่างเครื่องผู้ใช้ถึงชุมสายก็ยังเป็นสัญญาณแอนะล็อกแต่จะได้รับการเปลี่ยนสัญญาณให้เป็นสัญญาณดิจิทัลที่ชุมสาย
                เมื่อความต้องการใช่เครื่องงานเครือข่ายชุมสายโทรศัพท์มีสูงขึ้น การประยุกต์กว้างขวางมากยิ่งขึ้น มีการนำเอาโทรสารมาใช้ มีการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เข้าช่องสัญญาณโทรศัพท์ เพื่อใช้ในกิจการค้ามากขึ้น เช่น ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ระบบโทรศัพท์จึงต้องมีการพัฒนาตามไปด้วย
                เทคโนโลยีทางด้านการรับส่งสัญญาณดิจิทัลได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าเป็นลำดับจนสามารถกำหนดให้สายจากต้นทางส่งสัญญาณเข้าชุมสายโทรศัพท์ที่เป็นแบบดิจิทัลได้การผสมสัญญาณทางดิจิทัลจึงทำได้ง่าย การใช้งานหลาย ๆ อย่างไปบนสายโทรศัพท์เส้นเดียวกันจึงมีทางเป็นไปได้ เช่น บริการเครือข่ายข้อมูลซึ่งเป็นการส่งข้อมูลไปบนสายโทรศัพท์พร้อมกับการใช้งานโทรศัพท์ได้
                เมื่อเป็นเช่นนี้มาตรฐานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจึงเกิดขึ้น มาตรฐานนี้ได้แบ่งแถบกว้างในการใช้สายโทรศัพท์ออกเป็นแถบย่อยซึ่งมีแถบการส่งพื้นฐานที่เรียกว่าช่อง B อยู่ 2 ช่อง แต่ละช่องมีความเร็วการส่งข้อมูลขนาด 64 กิโลบิต และแถบการส่งสัญญาณข้อมูลอีกช่องหนึ่งเรียกว่าช่อง D ระบบมาตรฐานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลขนาดนี้จึงเป็น 2B+Dโดยช่อง D มีความเร็ว 16 กิโลบิต เมื่อรวมความสามารถของสายโทรศัพท์จะทำให้สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้144กิโลบิต
                การที่ใช้มาตรฐาน 2B+Dนี้ทำให้สายโทรศัพท์ที่ใช้งานทำการรับข้อมูลหรือเสียงได้พร้อมกันความจริงแล้วถ้าต่อใช้งานในระบบแอนะล็อกสายโทรศัพท์เส้นหนึ่งจะใช้บริการได้เพียงอย่างเดียวแต่ถ้าเป็นระบบโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจะทำให้สามารถใช้สัญญาณได้พร้อมกันมากกว่าสองช่องสัญญาณเสียงและสามารถใช้ร่วมกับสัญญาณข้อมูลอื่นพร้อมกัน
                การประยุกต์ใช้โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลนี้จึงเป็นเรื่องที่รวมการบริการหลายอย่างเข้าในเครือข่ายโทรศัพท์ เช่น การประชุมทางโทรศัพท์ การรับส่งข้อมูลทางโทรศัพท์ที่มีภาพประกอบ หรือเห็นภาพผู้รับปลายทางอย่างชัดเจน การใช้ร่วมระหว่าง โทรศัพท์กับข้อมูล เช่น เมื่อมีลูกค้าเรียกเข้ามาจะเรียกเข้ามาจะทราบหมายเลขต้นทางที่เรียกเข้ามา ระบบคอมพิวเตอร์จะค้นหาข้อมูลและปรากฎข้อมูลบนจอภาพเกี่ยวกับลูกค้าคนนั้นได้ทันที
                การให้บริการโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลทำให้ระบบการส่งโทรสารรวดเร็วขึ้นจากเดิม เพราะใช้มาตรฐานที่เรียกว่า จี3 (G3) โทรสารส่งได้รวดเร็วสุดที่ความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที หรือหนึ่งหน้ากระดาษขนาด A4 จะใช้เวลาประมาณ 17 วินาที แต่ถ้าใช้มาตรฐานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจะส่งได้ด้วยความเร็ว 64 กิโลบิต หรือหนึ่งหน้ากระดาษขนาด A4 จะใช้เวลาเพียง 3 วินาที
                ระบบโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลเป็นมาตรฐานที่นำทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่ระบบดิจิทัลเป็นการรวมกันระหว่างเสียงพูดแต่เดิมเป็นแอนะล็อกกับระบบข้อมูลที่เป็นดิจิทัลได้อย่างประสมประสานเป็นเนื้อเดียวกัน
                อย่างไรก็ดีโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล 2B+D นี้ สร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้กับข่ายสายโทรศัพท์ที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องวางสายกันใหม่
                ในอนาคตโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจะมีการนำเส้นใยนำแสงเข้ามาทดแทนเครือข่ายสายทองแดง ซึ่งเมื่อเวลานั้นสายที่ต่อไปยังบ้านจะเป็นเส้นใยนำแสงหมด การสื่อสารทางสายนี้จะร่วมได้แม้กระทั่งส่งสัญญาณโทรทัศน์ผ่านสายไปยังบ้านให้ผู้ชมในบ้านได้รับดูรายการโทรทัศน์ทางสาย
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อินเตอร์เน็ตมีพัฒนาการมาค่อนข้างยาวนานจาก อาร์พาเน็ต (ARPANET) ในปี พ.ศ. 2512 โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเพื่อเชื่อมโยงศูนย์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา
                เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการกำหนดคอมพิวเตอร์หลักที่ต่ออยู่บนเครือข่ายให้มีหมายเลขประจำเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขนี้จะเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องนนทรีใช้รหัสหมายเลข 158.108.2071 รหัสประจำเครื่องที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นี้ แต่อาจยุ่งยากต่อผู้ใช้เพราะมีตัวเลขหลายตัว จึงมีการสร้างชื่อเครื่องคอมพิเตอร์ในหลักสากลเพื่อให้มีเรียกขานและเป็นที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เช่น nontri.ku.ac.th
8.6.1ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต
                อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายเหมือนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้ทั่วโลกด้วยเหตุนี้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จึงกระทำได้ในทุกเครือข่ายทั่วโลก การใช้ประโยน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีมากมาย เช่น
                1)ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง
                2)การสนทนาแบบเชื่อมตรง 
                3) การค้นหาข้อมูล คอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สะสมและเก็บจากหลาย ๆ ผู้ใช้
                4) กระดานข่าว 
                5) เกมและนันทนาการ 
                เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยได้เชื่อมโยงโดยสมบูรณ์เข้ากับอินเตอร์เน็ตคือจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โดยเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก chulkn.chulu.ac.th เข้ากับเครือข่าย หลังจากนั้นอีกต่อมา 1 ปี ศูยน์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติซึ่งเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงเครือข่ายไทยสารซึ่งเป็นเครือข่ายข่าวเชื่อมโยงของมหาวิทยาลัยต่างๆเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
                ในปัจจุบันเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเชื่อมโยงเข้าสู่ต่างประเทศสองทางคือที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
                จากการเชื่อมโยงให้ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์เข้ามายังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและใช้งานได้ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทในการเป็นสถานีปลายทางโดยผู้ใช้ที่อยู่ในที่ต่าง ๆ หากต่อเชื่อมกับเครือข่ายแล้วก็สะดวกในการใช้งาน เพราะสามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ทันที และสามารถใช้งานในรูปแบบต่างๆได้ สะดวก เช่น ใช้ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ในการเรียกค้นหาข้อมูล ตลอดจนการใช้ทรัพยากร อื่น ๆ บนเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีเป็นจำนวนมาก
                เพื่อให้เห็นภาพของการใช้ทรัพยากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงขอเสนอลักษณะของทรัพยากรบนอินเตอร์ที่ผู้ใช้เรียกใช้ได้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ
                1) ระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้าง บริษัทชั้นนำทางคอมพิวเตอร์หลายบริษัท เช่น Apple; Thinking Maehine; Dow Jone และKPMG Peat Marwich ได้ร่วมพัฒนาระบบบริการสารสนเทศ บริเวณกว้าง Wide Area Information Servece: WAIS และนำออกมาใช้ประโยชน์บนอินเตอร์เน็ต
                ลักษณะของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างเป็นการรวมศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาข้อมูล
                เนื่องจากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีฐานข้อมูลกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หากให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลต้องแยกค้นไปยังฐานข้อมูลต่าง ๆ จะไม่สะดวก การดำเนินการของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างจึงเป็น ทำให้ผู้ใช้มองเห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียว โดยระบบนี้จะทำการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการตามฐานข้อมูลต่างๆให้โดยอัตโนมัติ
                การใช้งานระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องที่สะดวก ปัจจุบันมีให้เรียกค้นหาหลายที่ เช่น บนเครื่อง think.com นอกจากนี้ยังมีการให้บริการค้นด้วยระบบตัวเชื่อมประสานหลายแบบตามลักษณะของผู้ขอบริการ
                2) ระบบอาร์ซี ปัญหาในเรื่องของการเก็บแฟ้มข้อมูลข่าวสารไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้เรียกค้นไม่ถูกว่ามีข้อมูลอยู่ที่เครื่องใดบ้าง ระบบอาร์ซี (Archie) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยอลัน เอมเทค (Alan Emtage) และปีเตอร์ ดูทช์ (Peter Deutsch) แห่งมหาวิยาลัยแมกกิลล์ (McGill) ซึ่งเป็นระบบการเรียกค้นหาข้อมูล และดำเนินการตามขั้นตอนการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP) ได้
                ผู้ใช้อาร์ซี จะทำตัวเสมือนเป็นเครื่องผู้ใช้บริการเรียกเข้าไปยังบริการอาร์ซีเพื่อค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการว่าเก็บไว้สถานที่ใด เพราะบริการอาร์ซีได้รวบรวมชื่อแฟ้มและสถานที่เก็บแฟ้มข้อมูลรวมซึ่งอยู่กระจัดกระจาย จึงทำให้ผู้เรียกค้นได้เสมือนเป็นการเปิดสารบัญดูก่อนว่าข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่ใด จากนั้นเรียกค้นไปยังสถานที่ที่ต้องการเพื่อทำการโยกย้ายแฟ้มข้อมูลต่อไป
                3) ระบบโกเฟอร์ ระบบโกเฟอร์ (Gopher) ได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา (Minnesota) โดยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเป็นลำดับขั้นตามเมนูที่กำหนด ฐานข้อมูลที่จะเรียกค้นเป็นฐานข้อมูลแบบกระจายที่เชื่อมต่อกัน การเรียกจากเมนูทำให้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นลำดับ ฐานข้อมูลแต่ละเครื่องบนเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น เรียกข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ก็เชื่อมมาที่เครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่งในประเทศ จากนั้นจะกระจายไปยังฐานข้อมูลอื่นตามลักษณะการเรียกค้น
                หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลและคิดว่าข้อมูลของตนจะเป็นประโยชน์ สามารถสร้างระบบเชื่อมโยงเข้าสูระบบโกเฟอร์เพื่อให้ผู้อื่นเรียกใช้ได้
                ระบบโกเฟอร์เป็นเกณฑ์วิธีพิเศษที่สร้างขึ้นมาบน TCP/IP โกเฟอร์ที่รู้จักกันดีอยู่ที่เครื่อง micro.umn.edu เป็นเครื่องของมหาวิทยาลัยมินเนโซตา ระดับบนสุดของโกเฟอร์จะให้รายละเอียดต่าง ๆ ที่วิ่งค้นหาข้อมูงลงไปในระดับล่างได้
                4) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) เป็นการใช้หลักการของข้อความหลายมิติ (hypertext) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเซิร์น (CERN) แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โครงสร้างของเวิลด์ไวด์เว็บ ใช้หลักการเครื่องบริการของผู้ใช้ โดยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปแบบข้อความหลายมิติโดยมีข้อกำหนดเกณฑ์วิธี การจัดเก็บแบบข้อความและเชื่อมโยงกันแบบข้อความหลายมิติ ปัจจุบันมีเครื่องบริการแฟ้มข้อมูลที่ทำหน้าที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บมากมาย
               
                เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบข้อมูลไม่ใช่ของใหม่อีกต่อไปแล้วการใช้ข้อมูลมีบทบาทที่จะต้องดำเนินการแข่งกับเวลา ข้อมูลที่นักข่าวแสวงหา คือ ความจริงที่ต้องรีบนำมารายงาน แต่หากข่าวใดล้าสมัยแล้วอาจไม่มีความสำคัญที่จะต้องรายงานอีกต่อไประบบข้อมูลและการแลกเปลี่ยนผ่านระบบสื่อสารต่างๆ จึงได้พัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ
                บทบาทของการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสังคมโลก จึงเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ได้ ความสนใจในเรื่องข้อมูและจัดระบบเพื่อให้บุคลากรทุกระดับเข้าใจและประสานการทำงานร่วมกันจึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐจะต้องเร่งดำเนินการ องค์กรของรัฐสามารถที่จะใช้ข้อมูล เพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับประชาชนได้มาก การแก้ปัญหาทุกอย่างของรัฐบาลจะต้องได้รับข้อมูล ที่ถูกต้อง ทันสมัย ทันเวลา เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
ไอพีทีวี(InternetProtocolTelevision:IPTV)
                ไอพีทีวี มีชื่อเต็มมาจากคำว่า Internet Protocol Television : IPTV เป็นการประยุกต์ใช้งานโดยเอาเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการแพร่สัญญาณภาพและเสียงผ่านทางคลื่นความถี่มาใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบมัลติมีเดียจึงให้บริการได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน หรือที่เราเรียกว่า Triple play และกำลังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ โดยมีผู้ให้บริการมากกว่า 30 รายทั่วโลก ที่เปิดให้บริการ หรือกำลังวางแผนพัฒนาบริการประเภทนี้ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้เป็นต้น
                 จุดเด่นที่แตกต่างของไอพีทีวีจากฟรีทีวีช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ ทีไอทีวี รวมถึงเคเบิลทีวีอย่างยูบีซี (UBC) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น True Vision คือ ไอพีทีวี เป็นการเสพความบันเทิงบนการสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two way communications) ตลอด 24 ชั่วโมง ในรูปแบบของ อินเตอร์แอ็กทีฟทีวี (Interactive TV) คือ ผู้ชมสามารถโต้ตอบกลับไปยังสถานีโทรทัศน์ได้ ซึ่งจะแตกต่างจากระบบโทรทัศน์แบบเก่าที่ไม่สามารถโต้ตอบกลับไปยังสถานีโทรทัศน์ได้ทันท่วงทีโดยการเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมโดยตรงกับรายการที่ออกอากาศ ตัวอย่างเช่น การดูรายการเกมส์โชว์ เล่นเกม ตั้งกระทู้ ส่งเอสเอ็มเอสโหวต (SMS Vote) และการแสดงความคิดเห็น สนทนาสดในรายการทอล์กโชว์ผ่านโทรศัพท์ แชตผ่านอินเทอร์เน็ตโดยใช้ห้องแชตหรือเว็บแคม (Chat room or Web Cam) สนทนาแบบเห็นภาพผ่านวิดีโอโฟน (Videophone) ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่3(3G)เป็นต้น